วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2555

- ส่งแผนตามหน่วย ของกลุ่มตัวเอง
- อาจารย์ให้นักศึกษานำกล่องขึ้นมา
- อาจารย์ถามคำถาม และให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
  - เห็นกล่องแล้วนึกถึงอะไร ( ริบบิ้น, หุ่นยนต์, ของขวัญ, ฯลฯ)
  - เห็นกล่องแล้วอยากให้เป็นอะไร (บ้าน, ตึก, ต้นไม้, ฯลฯ) เป็นการเชื่อมโยงความรู้สึกของตัวเอง
  - กล่องเอาไว้ใช้ทำอะไรได้บ้าง (ใส่รองเท้า, ทำของเล่น, กระเป๋า, บล็อก, ใส่ดินสอ, ใส่ทิชชู, ฯลฯ)                                        
    เป็นเศษวัสดุที่นำมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด
- แทนสาระหน่วยกล่อง
การเล่น คือ การลงมือด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยครูเป็นผู้อำนวยความสะดวก และกำหนดทิศทางจัดให้สอดคล้องกับวิธีการเรียนรู้
- นอกจากรูปทรงแล้ว เด็กสามารถเรียนรู้อะไรได้อีก 
  ขนาด = ใหญ่, เล็ก, สั้น, ยาว 
  ประเภท = ไว้ใส่ของใช้, ไว้ใส่ของกิน, ปริมาณ, น้ำหนัก
  การวัด = ความยาว, จำนวน
  เปรียบเทียบ = ขนาด, จำนวนกล่อง
  เรียงลำดับ = จากน้อย-มาก, จากมาก-น้อย, จากเล็ก-ใหญ่, จากใหญ่-เล็ก
  จับคู่ = รูปทรงเหมือนกัน, ขนาดเท่ากัน
  ทำตามแบบ = เรียงแบบอนุกรม
  เซต = 
  เศษส่วน = แยกประเภท แบ่งครึ่งของทั้งหมด, แบ่งครึ่ง
  การอนุรักษ์ = 
- อาจารย์ให้นักศึกษาจับกลุ่ม 5 คน  แล้วนำกล่องของตัวเองมาต่อกันเปงรูปอะไรก็ได้ ตามความคิดอิสระของตัวเอง



- นำผลงานของแต่ละกลุ่มวางเรียงไว้บนโต๊ะ และอาจานย์ถามกล่องของแต่ละคนตั้งแต่กล่องแรกจนถึงกล่องสุดท้ายว่า แต่ละคนคิดว่าจะต่อเป็นอะไร
- ให้นักศึกษานำผลงานของกลุ่มตัวเอง มาคิดแสดงความคิดเห็นและดัดแปลงว่าจะประกอบเป็นอะไรดี
- อาจารย์ให้นักศึกษาคิดจินตนาการจำลองเป็นสถานที่ แล้วนำผลงานของแต่ละกลุ่มมาวางตามตำแหน่งนั้นๆ
  


วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 4 ธันวาคม พ.ศ.2555

- ส่งเรียงความของกลุ่มตัวเอง
- ส่งตัวแทนของแต่ละกลุ่ม  ออกมาเสนอเรียงความให้เพื่อนฟัง
- อาจารย์ได้แนะนำ เพิ่มเติม เกี่ยวกับเนื้อหาเรียงความของแต่ลละกลุ่ม
- อาจารยให้แต่ละกลุ่ม แบ่งกันสอนคนละ 1 วัน
ตัวอย่าง เช่น  หน่วย ไข่
ขั้นนำ   เพลง, คำคล้องจอง, นิทาน, ปริศนาคำทาย, เกม
วันจันทร์    สอนเรื่อง ชนิด
วันอังคาร   สอนเรื่อง  ลักษณะ,พื้นผิว,ส่วนประกอบ เช่น ไข่ขาว, ไข่แดง, เปลือก
วันพุธ         สอนเรื่อง  ประโยชน์ เช่น ประโยชน์ในตัวเอง,นำไปประยุกต์ใช้
วันพฤหัสบดี  สอนเรื่อง  ประกอบอาหาร
วันศุกร์       สอนเรื่อง  ข้อควรระวัง, การแปรรูป, การขยายพันธุ์, การดูแลรักษา
- ไข่มีอะไรบ้าง, ในตะกร้ามีไข่ทั้งหมดกี่ใบ, นำตัวเลขฮินดูอารบิกมาแทนค่าในไก่ไข่




บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2555



- อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้ทำ mind mapping  ของกลุ่มตัวเองส่งเป็นรายบุคคล
- อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำ mind mapping 
อาจารย์ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนองาน 12 หัวข้อ  ได้แก่
  1. การนับ
  2. ตัวเลข
  3. การจับคู่
  4. การจัดประเภท
  5. การเปรียบเทียบ
  6. การเรียงลำดับเหตุการณ์
  7. รูปทรง
  8. เศษส่วน
  9. การวัด
 10. เซต
 11. การทำตามแบบ
 12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ





วันพุธที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

              เพลง โปเล่ โปลา
โปเล่ โปเล่ โปลา โปเล โปเล โปลา
เด็กน้อยยื่นสองแขนมา มือซ้ายขาว ทำลูกคลื่นทะเล
ปลาวาฬ พ่นน้ำเป็นฝอย ปลาเล็ก ปลาน้อย ว่ายตาม
ปลาวาฬ นับ 1 2 3 ใครว่ายตาม ปลาวาฬจับตัว 
สอนเรื่อง    - การนับปากเปล่า
                    - ทิศทางซ้าย-ขวา
                    - ตำแหน่ง
การเอาคณิตศาสตร์มาใช้ตรงไหนที่จะเป็นเครื่องมือในการสอน
   - จัดทำหน่วย
   - ให้มีสาระเป็นทุ่นลอย
ขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย
อ. นิตยา ประพฤติกิจ (2541:17-19) กล่าวถึงขอบข่ายของหลักสูตรคณิตศาสตร์ในระดับปฐมวัย ไว้ดังนี้
1. การนับ   เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลขอันดับแรกที่เด็กรู้จัก เป็นการนับอย่างมีความหมาย เช่น การนับตามลำดับตั้งแต่ 1ถึง 10 หรือมากกว่านั้น
2. ตัวเลข   เป็นการให้เด็กรู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน ให้เด็กเล่นของเล่นเกี่ยว กับตัวเลขให้เด็กได้นับและคิดเอง โดยผู้เลี้ยงดูเด็กเป็นผู้วางแผนจัดกิจกรรม
3. การจับคู่   เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกต ลักษณะต่างๆ และจับคู่สิ่งที่เข้าคู่กัน เหมือนกันหรือ อยู่ประเภทเดียวกัน
4. การจัดประเภท   เป็นการฝึกฝนให้เด็กรู้จักการสังเกตคุณสมบัติของ สิ่งต่างๆ ว่ามีความแตกต่าง หรือเหมือนกัน ในบาง เรื่อง และสามารถจัดเป็นประเภทต่าง ๆ ได้
5. การเปรียบเทียบ   เด็กจะต้องมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักใช้คำศัพท์ เช่น ยาวกว่า สั้นกว่า หนักกว่า เบากว่า ฯลฯ
6. การจัดลำดับ   เป็นเพียงการจัดสิ่งของชุดหนึ่ง ๆ ตามคำสั่งหรือตามกฎ เช่น จัดบล็อก 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากันให้เรียงตามลำดับจากสูงไปต่ำ หรือจากสั่นไปยาง เป็นต้น
7. รูปทรงและเนื้อที่   นอกจากให้เด็กได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่นตาม ปกติแล้ว ผู้เลี้ยงดูเด็กยังต้องจัดประสบการณ์ให้เด็กได้เรียนรู้ เกี่ยวกับ วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ความ ลึกตื้น กว้างและแคบ
8. การวัด   มักให้เด็กลงมือวัดด้วยตนเอง ให้รู้จักความยาวและ ระยะ รู้จักการชั่งน้ำหนัก และรู้จักการประมาณอย่างคร่าวๆ ก่อน ที่เด็กจะรู้จักการวัด ควรให้เด็กได้ฝึกฝนการเปรียบเทียบและ การจัดลำดับมาก่อน 
9. เซต   เป็นการสอนเรื่องเซตอย่างง่าย ๆ จากสิ่งรอบ ๆ ตัว มีการเชื่อมโยงกับสภาพรวม เช่น รองเท้ากับถุงเท้าถือเป็นหนึ่งเซต หรือในห้องเรียนมีบุคคลหลายประเภท แยกเป็นเซตได้ 2 เซต คือ นักเรียน ผู้เลี้ยงดูเด็กประจำชั้น เป็นต้น
10. เศษส่วน   ปกติการเรียนเศษส่วนมักเริ่มเรียนในชั้นประถม แต่ผู้เลี้ยงดูเด็กปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นส่วนรวมให้เด็กเห็นก่อน การลงมือปฏิบัติเพื่อให้เด็กได้เข้าใจความหมายและมีความคิดรวบยอดเกี่ยวกับครึ่งหรือ ?
11. การทำตามแบบหรือลวดลาย   เป็นการพัฒนาให้เด็กจดจำรูปแบบหรือลวดลาย และพัฒนาการจำแนกด้วยสายตาให้เด็กฝึกสังเกต ฝึกทำตามแบบ และต่อให้สมบูรณ์
12. การอนุรักษ์หรือการคงที่ด้านปริมาณ   ช่วงวัย 5 ปีขึ้นไป ผู้เลี้ยงดูเด็กอาจเริ่มสอนเรื่องการอนุรักษ์ได้บ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง เพื่อให้เด็กมีความคิดรวบยอดเรื่องการอนุรักษ์ที่ว่า ปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายที่หรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม


วันพุธที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

- อาจารย์แจกกระดาษ A4  4 คนต่อ1แผ่น  แล้วให้วาดรูปสัญลักษณ์ตนเองพร้อมเขียนชื่อใต้ภาพภาพ
- การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย หมายถึง การจัด กิจกรรมต่างๆที่เปิดโอกาส ให้ได้เด็กได้กระทำด้วยตนเอง ผ่านการเล่น การได้สัมผัส 
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามหลักสูตร ควรเน้นให้เด็กเกิดความคิดรวบยอด และทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 7 ด้าน ดังนี้

1.การสังเกตการจำแนกและการเปรียบเทียบ

                                      1.1 การจำแนกความเหมือนความแตกต่าง

                                      1.2 การจัดหมวดหมู่

                                      1.3 การเรียงลำดับสิ่งต่างๆ

2.ทางด้านตัวเลข และจำนวน

                                      2.1 การนับจำนวน

                                      2.2 การรู้ค่าของจำนวน

                                      2.3 การดำเนินการเกี่ยวกับจำนวน

3.ทางด้านมิติสัมพันธ์

                                     3.1 เข้าใจตำแหน่ง

                                     3.2 เข้าใจระยะ

                                     3.3 การเข้าใจทิศทาง

                                     3.4 การต่อชิ้นส่วนภาพ

4.ทักษะทางด้านเวลา

                                     4.1 การเปรียบเทียบในเรื่องเวลา

                                     4.2 การเรียงลำดับเหตุการณ์

                                     4.3 ฤดูกาล

Lotto - การศึกษารายละเอียดของภาพ
- เกมการศึกษา  (แกน2แกน)
   โดมิโน  การต่อกันโดยใข้ปลายข้างหน้า ข้างบน ข้างล่าง ก็ได้
   จิ๊กชอ    
   ภาพจับคู่   ภาพเหมือน เช่น เงา สี ขนาด
   เกมเรียงลำดับ   เช่น เรียงจำนวน  เรียงเหตุการณื
   อนุกรม   ความต่อเนื่อง  ความสัมพันธ์
   อุปมา อุปไมย   เช่น สีขาว-นึกถึงสำลี , สีเขียว-ใบไม้
- เกมกลางแจ้ง   เกมละเล่นพื้นบ้าน
   เกมเบ็ดเตล็ด   เป็นเกมที่มีกฏกติกาไม่ซับซ้อน
  เกมแบบผลัด   
- กิจกรรมเสรี


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ.2555