วันศุกร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 16


วันอังคารที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2556

อาจารย์ได้พูดคุยเกี่ยวกับเรื่องเสื้อสูทร
- อาจารย์พูดเรื่องการสอบปลายภาค กิจกรรมกีฬาสี  ปัจฉิม บายเนีย และการไปศึกษาดูงานที่ประเทศลาว
- กาารเขียนอนุทินลงบล็อก
- การลิงค์วิจัยต้องมีหลากหลายไม่ควรซ้ำกัน
- อาจารย์แจกกระดาษคนละ 1 แผ่น ให้เขียนดังนี้
   1. ได้ความรู้อะไร
   2. ได้ทักษะอะไร
   3. วิธีสอนของอะไร

วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2556

- เพื่อนๆสอบสอน เรื่อง หน่วยอวัยวะภายนอกของร่างกาย

   วันที่ชนิดของอวัยวะภายนอกร่างกาย
   ควรถามเด็กว่าเด็กรู้จักอวัยวะมีอะไรบ้างคะ
   ต้องมีภาพมาปะแทนคำเขียน
   ถ้าถามเด็กว่าอวัยวะทั้งหมดมีเท่าไรต้องมีตัวเลขมากำกับ
   สุดท้ายต้องแยกกลุ่มเพื่อให้เด็กเข้าใจ


วันที่ลักษณะของอวัยวะภายนอกร่างกาย
  ทบทวนเรื่องที่เด็กเรียนจากเมือวาน
   ให้เด็กๆสังเกตุอวัยวะของเพื่อน
   ให้เด็กๆสัมพัส พื้นผิว ดูสี อวัยวะ
   หัวใจของวันนี้คือเด็กได้วิเคราะห์ สังเกต และสรุปได้

วันที่หน้าที่ของอวัยวะภายนอกร่างกาย

   ถามเด็กว่าอวัยวะภายนอกอะไรที่เหมือนกัน
   ร้องเพลง ตาดูหูฟัง
   ใช่ภาพติดและแยกเป็นแม็บ
   บอกหน้าที่ของอวัยวะได้
   สรุป อวัยวะของเราทำหน้าที่อะไร
วันที่ประโยชน์ของอวัยวะภายนอกร่างกาย
   เล่านิทาน
   บอกประโยชน์ของหน้าที่จากนิทาน
   ต้องทำแม็บ จากนิทาน
วันที่วิธีการดูแลรักษาของอวัยวะภายนอกร่างกาย
   สรุปประโยชน์จากเมือวาน
   วิธีทำความสะอาด


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 14


วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์  พ.ศ.2556

- กลุ่มที่4 ออกมาสอน หน่วยเรื่อง กระดุม




-  การนำเข้าสู่บทเรียนโดย ร้องเพลง  
           หลับตาเสีย    อ่อนเพลียทั้งวัน
นอนหลับเเล้วฝัน   เห็นเทวดา
มาร่ายมารำ            งามขำโสภา
พอตื่นขึ้นมา           เทวดาไม่มี
- ครูเเจกภาพที่เป็นจิ๊กซอว์รูปกระดุม ให้เด็กเป็นบางคน
- ให้เด็กนำภาพที่ได้มาต่อหรือวางให้เกิดเป็นภาพที่สมบูรณ์

วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 29 มกราคม  พ.ศ.2556

งานวิจัย

    สรุปวิจัย เรื่อง...การวิเคราะห์แบบฝึกความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   (ผู้แต่ง...อรสิริ  วงศ์สิริศร)
        ปัจจุบันเด็กได้คิดมากกว่าท่องจำ  คือ เด็กสามารถคิดเปรียบเทียบได้แยกสิ่่งของเครื่องใช้  หรืออะไรที่เด็กเข้าใจได้เป็นหมวดหมู่ขั้นตอน  รู้จักคิดเชื่อโยสัมพันธ์ได้มากและถูกต้องยิ่งขึ้น  โดยการถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด  ดังนั้นการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เด็กมีทักษะในการคิด  มากกว่าการท่องจำ  จำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
     การพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นสิ่งที่ควรได้รับความเตรียมพร้อมมากที่สุด  และการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์ คือ การเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้และทำกิจกรรมต่างๆได้ดี  เท่าอายุและความสามรถตามวัย  อันเนื่องจากวุฒิภาวะและมีประสบการณ์  อีกทั้งมีความมั่นคงทางอารมณ์ที่จะตั้งใจ  สนใจและมีสมาธิที่จะทำกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้ได้ผลดี  วิธีการจัดการเรียนการสอนมีหลายวิธี  นอกจากการใช้แบบฝึกความพร้อมแล้วการจัดการเรียนการสอน  ในลักษณะการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น  เกม  การสาธิต  การปฎิบัติการ  และกิจกรรมต่างสามารถพัฒนาความพร้อมในด้านสติปัญญาการคิดคำนวณได้เช่นกัน

>>>สนใจงานวิจัยฉบับเต็ม...คลิกที่นี่<<<

                                            สรุปวิจัยเรื่อง...การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  (ผู้แต่ง...ธัญสุตา  จิรกิตติยากร)

กรอบแนวคิดในการวิจัย
รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและขยายผลรูปแบบการเรียนการสอน  สร้างเสริมการการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ด้วยการวิจัยและพัฒนามีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   โดยการสร้างเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 10 คน  และทดลองประเมินโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
ขั้นที่ 2 ศึกษานำร่องรูปแบบการเรียนการสอน  โดยการทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2548  1ห้องเรียน  ที่โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) กรุงเทพมหานคร
ขั้นที่ 3 ทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ  One-Groub , Pretest-Posttest  กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย  โรงเรียนสวัสดีวิทยา  สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร  ใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 6 กิจกรรม การเรียนรู้ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2548
ขั้นที่ 4 ขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัย  ของสถานศึกษา 3 แห่ง  โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)   โรงเรียนวัดโตนด  และโรงเรียนสวัสดีวิทยา  สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร  จัดกิจกรรมการเรียนรู้โรงเรียนละ 2 กิจกรรมการเรียนรู้รวม 6 กิจกรรมการเรียนรู้



ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้


   1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดการคิดตรรกคณิตศาสตร์  สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น  ประกอบด้วยการเรียนการสอน  ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กระตุ้นความคิด  เป็นการนำปัญหากรณีต่างๆ  หรือสถานการณ์ต่างๆ  หรือสถานการณ์ต่างๆ  ที่เด็กสนใจมาเป็นตัวกระตุ้นจูงใจหรือท้าทายให้เด็กเกิดการคิด  และมองปัญหาโดยการสังเกต  ครูจะใช้คำถามกระตุ้นการคิดอย่างต่อเนื่อง
ขั้นที่ 2 สันนิษฐานคำตอบ  เป็นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติการคิด  ได้ทดสอบการคาดเดาตามหลักการโดยใช้ประสาทสัมผัส  กำหนดความคาดหวังจากความสัมพันธ์เชิงเหตุผล  มองหาทางเลือกหลายๆทาง  ในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 พิสูจน์เหตุผล  เป็นการให้เด็กคิดวิเคราะห์  จัดระบบและความเข้าใจโดยการสังเกต  เปรียบเทียบ  จำแนก  และการนับ  เพื่อหาเหตุในการตอบได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง  ได้คิดอย่างเหตุผลและเป็นขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 4 สรุปหลักการทางคณิตศาสตร์  เป็นการให้เด็กคิดวิเคราะห์  มองเห็นความเป็นเหตุเป็นผล  จากการลงมือปฏิบัติการคิดของตนเองและเพื่อน  แล้วนำข้อมูลมาสรุปเป็นคำตอบ







บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ.2556

- เพื่อนๆ สอบสอน
- การรวมการแยกเป็นพื้นฐานของการบวก การลบ
- มาตรฐาน สสวท.
- อาจารย์แนะนำสื่อที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์


มาตราฐานและสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย






วันอังคารที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 11

วันอังคารที่ 15 มกราคม พ.ศ.2556

อาจารย์ให้เพื่อนกลุ่มขนมไทยออกมาสาธิตการสอน
อาจารย์ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสอนของเพื่อนแต่ละคน






บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 10

วันอังคารที่ 8 มกราคม พ.ศ.2556

สาระและมาตรฐานการเรียนรู้คณิตศาสตร์ปฐมวัย
      มาตรฐานการเรียนรู้ เป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล มาตรฐานการเรียนรู้จัดให้อยู่ภายใต้สาระหลัก ดังนี้
      สาระที่ 1 : จำนวนและการดำเนินการ มาตรฐาน
 - เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวน และการใช้จำนวนในชีวิตจริง
      สาระที่ 2 : การวัด
 - เข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัด ความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงินและเวลา
      สาระที่ 3 : เรขาคณิต
 - รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่ง ทิศทาง และระยะทาง
 - รู้จัก จำแนกรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัดกระทำ
      สาระที่ 4 : พีชคณิต
เข้าใจแบบรูปและความสัมพันธ์
      สาระที่ 5 : การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
 - รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อม และนำเสนอ
      สาระที่ 6 : ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์
 - การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ครูควรคอยสอดแทรกทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ตามความเหมาะสมกับระดับอายุ

- ส่งงานประดิษฐ์ดอกไม้



วันพุธที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2556

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 9

วันอังคารที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2556

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากเป็นวันหยุดปีใหม่


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 8

วันอังคารที่ 25 ธันวาคม พ.ศ.2555

สอบกลางภาค


บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 7

วันอังคารที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2555

ไม่มีการเรียนการสอน  เนื่องจากอาจารย์ติดธุระ
และได้ทำงานที่รับมอบหมายไว้