วันอังคารที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

งานวิจัย

    สรุปวิจัย เรื่อง...การวิเคราะห์แบบฝึกความพร้อมทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   (ผู้แต่ง...อรสิริ  วงศ์สิริศร)
        ปัจจุบันเด็กได้คิดมากกว่าท่องจำ  คือ เด็กสามารถคิดเปรียบเทียบได้แยกสิ่่งของเครื่องใช้  หรืออะไรที่เด็กเข้าใจได้เป็นหมวดหมู่ขั้นตอน  รู้จักคิดเชื่อโยสัมพันธ์ได้มากและถูกต้องยิ่งขึ้น  โดยการถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูด  ดังนั้นการศึกษาที่มุ่งเน้นให้เด็กมีทักษะในการคิด  มากกว่าการท่องจำ  จำเป็นต้องมีทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
     การพัฒนาความพร้อมด้านคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  เป็นสิ่งที่ควรได้รับความเตรียมพร้อมมากที่สุด  และการเตรียมความพร้อมที่จะเรียนคณิตศาสตร์ คือ การเตรียมเด็กให้สามารถเรียนรู้และทำกิจกรรมต่างๆได้ดี  เท่าอายุและความสามรถตามวัย  อันเนื่องจากวุฒิภาวะและมีประสบการณ์  อีกทั้งมีความมั่นคงทางอารมณ์ที่จะตั้งใจ  สนใจและมีสมาธิที่จะทำกิจกรรมคณิตศาสตร์ให้ได้ผลดี  วิธีการจัดการเรียนการสอนมีหลายวิธี  นอกจากการใช้แบบฝึกความพร้อมแล้วการจัดการเรียนการสอน  ในลักษณะการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น  เกม  การสาธิต  การปฎิบัติการ  และกิจกรรมต่างสามารถพัฒนาความพร้อมในด้านสติปัญญาการคิดคำนวณได้เช่นกัน

>>>สนใจงานวิจัยฉบับเต็ม...คลิกที่นี่<<<

                                            สรุปวิจัยเรื่อง...การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  (ผู้แต่ง...ธัญสุตา  จิรกิตติยากร)

กรอบแนวคิดในการวิจัย
รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

          การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างและขยายผลรูปแบบการเรียนการสอน  สร้างเสริมการการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ด้วยการวิจัยและพัฒนามีขั้นตอนการดำเนินการดังนี้
ขั้นที่ 1 สร้างรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย   โดยการสร้างเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง  ตรวจสอบโดยผู้เชี่ยวชาญ 10 คน  และทดลองประเมินโดยการวิจัยเชิงปฏิบัติการกับนักเรียนชั้นเด็กเล็ก  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2548  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ  ประสานมิตร (ฝ่ายประถม)
ขั้นที่ 2 ศึกษานำร่องรูปแบบการเรียนการสอน  โดยการทดลองใช้กับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2  ภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2548  1ห้องเรียน  ที่โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล) กรุงเทพมหานคร
ขั้นที่ 3 ทดสอบประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ  One-Groub , Pretest-Posttest  กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กปฐมวัย  โรงเรียนสวัสดีวิทยา  สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร  ใช้ระยะเวลา 6 สัปดาห์  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เป็นทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ 6 กิจกรรม การเรียนรู้ในภาคเรียนที่ 2  ปีการศึกษา 2548
ขั้นที่ 4 ขยายผลรูปแบบการเรียนการสอนตรรกคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  ซึ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นครูปฐมวัย  ของสถานศึกษา 3 แห่ง  โรงเรียนสามเสนนอก (ประชาราษฎร์อนุกูล)   โรงเรียนวัดโตนด  และโรงเรียนสวัสดีวิทยา  สังกัดสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร  จัดกิจกรรมการเรียนรู้โรงเรียนละ 2 กิจกรรมการเรียนรู้รวม 6 กิจกรรมการเรียนรู้



ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้


   1. รูปแบบการเรียนการสอนเพื่อสร้างเสริมการคิดการคิดตรรกคณิตศาสตร์  สำหรับเด็กปฐมวัยที่พัฒนาขึ้น  ประกอบด้วยการเรียนการสอน  ขั้นตอนดังนี้
ขั้นที่ 1 กระตุ้นความคิด  เป็นการนำปัญหากรณีต่างๆ  หรือสถานการณ์ต่างๆ  หรือสถานการณ์ต่างๆ  ที่เด็กสนใจมาเป็นตัวกระตุ้นจูงใจหรือท้าทายให้เด็กเกิดการคิด  และมองปัญหาโดยการสังเกต  ครูจะใช้คำถามกระตุ้นการคิดอย่างต่อเนื่อง
ขั้นที่ 2 สันนิษฐานคำตอบ  เป็นการให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติการคิด  ได้ทดสอบการคาดเดาตามหลักการโดยใช้ประสาทสัมผัส  กำหนดความคาดหวังจากความสัมพันธ์เชิงเหตุผล  มองหาทางเลือกหลายๆทาง  ในการแก้ปัญหา
ขั้นที่ 3 พิสูจน์เหตุผล  เป็นการให้เด็กคิดวิเคราะห์  จัดระบบและความเข้าใจโดยการสังเกต  เปรียบเทียบ  จำแนก  และการนับ  เพื่อหาเหตุในการตอบได้ตัดสินใจด้วยตัวเอง  ได้คิดอย่างเหตุผลและเป็นขั้นตอน
ขั้นตอนที่ 4 สรุปหลักการทางคณิตศาสตร์  เป็นการให้เด็กคิดวิเคราะห์  มองเห็นความเป็นเหตุเป็นผล  จากการลงมือปฏิบัติการคิดของตนเองและเพื่อน  แล้วนำข้อมูลมาสรุปเป็นคำตอบ







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น